"ออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน" การจัดพื้นที่ทำงาน (Zone Management)(Success Design-th.Com รับออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน)
การจัดพื้นที่ทำงานสามารถแบ่งได้เป็น 3 ส่วนดังนี้
1. ส่วนสาธารณะ (Public Zone)
ส่วนสาธารณะก็คือส่วนด้านหน้าของออฟฟิศ ส่วนที่คนจากภายนอกสามารถเข้าถึงได้
ควรประกอบด้วย ส่วนต่าง ๆ ดังนี้
ส่วนต้อนรับ (Information) เป็นส่วนแรกของออฟฟิศ หรือเปรียบเสมือนหน้าตาของ
สำนักงาน และยังเป็นส่วนให้ข้อมูลต่าง ๆ ต่อผู้มาติดต่องานอีกด้วย
ส่วนพักคอย (Waiting Area) ถ้าพื้นที่ภายในบ้านมีไม่มากพอ ส่วนพักคอยอาจเป็น
ส่วนเดียวกับส่วนต้อนรับเลยก็ได้ แต่ถ้ามีพื้นที่มากพออาจแยกออกไปเป็นส่วนต่างหาก อาจ
เป็นทั้งภายใน และภายนอกบ้านก็ได้ แล้วแต่จุดประสงค์ และความสะดวก หรืออาจตามสไตล์
ของการตกแต่งก็เป็นได้
2. ส่วนกี่งสาธารณะ (Semi Public Zone)
ส่วนกึ่งสาธารณะ เป็นส่วนที่เชื่อมต่อจากส่วนสาธารณะ ใช้สำหรับเป็นที่ติดต่อ
ประสานงาน ระหว่างผู้มาติดต่องาน และพนักงาน ควรประกอบด้วย ส่วนต่าง ๆ ดังนี้
ห้องประชุม (Meeting Room) ควรเป็นห้องที่สามารถเปิด-ปิดได้โดยสะดวก เผื่อกรณี
ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น อาจกั้นด้วยผนังกระจก ซึ่งทำให้รู้สึกไม่อึดอัด และควร
เตรียมอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประชุมไว้ให้พร้อม เช่น ทีวี ไวท์บอร์ด เป็นต้น
ส่วนเอนกประสงค์ (Multi Function) อาจเป็นส่วนที่ใช้รับรองลูกค้า อาจทำเป็นมุม
คาเฟ่เล็ก ๆ ไว้รับรองลูกค้า และพนักงาน เพื่อใช้เป็นส่วนพักผ่อน หรือเปลี่ยนบรรยากาศการ
ทำงาน
3. ส่วนตัว (Private Zone)
พื้นที่ส่วนนี้แบ่งไว้สำหรับพนักงาน (Staff Only) ซึ่งจะไม่อนุญาตให้ลูกค้าเข้ามาในส่วนนี้ได้ ควร
ประกอบด้วย ส่วนต่าง ๆ ดังนี้
ส่วนทำงาน (Working Area) ควรออกแบบให้มีบรรยากาศที่น่าทำงาน ไม่ใช้สีสันที่
ฉูดฉาด เพื่อทำให้มีสมาธิในการทำงาน และควรวางแผนเพื่อให้รองรับเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ช่วย
ส่งเสริมการทำงานให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
ที่เก็บเอกสาร (File Storage) เอกสารเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับออฟฟิศทุกประเภท ยิ่ง
นานวันเอกสารยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ดังนั้นควรเตรียมสถานที่เพื่อจัดเก็บเอกสาร เพื่อให้สะดวก
ต่อการค้นคืน เป็นต้น
ส่วนเตรียมอาหาร (Panty) อาจใช้ร่วมกับห้องครัวของส่วนพักอาศัย เนื่องจาก
พนักงานอาจใช้เป็นที่พักรับประทานอาหารกลางวัน ซึ่งจะได้ไม่ส่งกลิ่นไปรบกวนส่วนทำงาน
รับ "ออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน"
วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559
วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน "การออกแบบ Home Office"
"การออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน" การออกแบบ Home Office (Success Design-th.Com รับออกแบบ ตกแต่ง ออฟฟิศ สำนักงาน)
การออกแบบ Home Office ต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. อันดับแรก
สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอย่างมากคือ พื้นที่ในการทำงาน และความเป็นส่วนตัว การจัดพื้นที่
ทำงานควรแยกห้องทำงานออกมาให้เป็นกิจจะลักษณะ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับส่วนอื่นภายในบ้าน หรือ
ถ้ามีงบไม่เพียงพอ อาจกั้นด้วยพาทิชัน (Partition) หรือตู้สูงเพื่อแบ่งแยกพื้นที่ออกจากห้องอื่น
เนื่องจากบางครั้งอาจมีการเจรจาต่อรองสัญญากับลูกค้า
2. อันดับสอง
สิ่งต่อไปที่ต้องคำนึงก็คือ โต๊ะทำงาน สามารถเลือกได้ว่าต้องการโต๊ะทำงานที่มีขนาด
ใหญ่ หรือถ้าบ้านมีพื้นที่จำกัด อาจจะใช้โต๊ะทำงานที่เป็นเคาน์เตอร์ติดริมหน้าต่างก็ได้ หากมี
เพื่อนร่วมงาน หรือพนักงานที่มาทำงานกับเรา อาจต้องคำนึงถึงการจัดวางพื้นที่ทำงานให้
เหมาะสม เนื่องจากพื้นที่ทำงานที่ดี และเหมาะสม จะทำให้คนทำงานมีสมาธิ และทำงานได้มี
ประสิทธิภาพสูงกว่าคนที่ทำงานในพื้นที่แออัด
ตู้เก็บของ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึง เนื่องจากสำนักงานอาจมีอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการ
ใช้งานต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพรินเตอร์ ตลอดจนแฟ้มเอกสาร
และเอกสารต่าง ๆ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้พร้อมที่จะทำให้ห้องทำงานยุ่งเหยิงจนไม่อยากทำงานได้
ดังนั้นควรที่จะเลือกตู้ที่มีหน้าบานปิดแบบต่าง ๆ ตลอดจนชั้นปรับระดับได้ นอกจากนี้ลิ้นชักยังมี
หน้าที่สำคัญในการจัดเก็บกระดาษ หรือแฟ้มเอกสารจำพวกแขวน และช่วยในการจัดระเบียบ
เอกสารได้เป็นอย่างดี
3. อันดับสาม
การวางแผนผัง (Planning) ห้องทำงาน หากห้องทำงานมีหน้าต่าง หรือช่องรับแสงที่รับ
วิวภายนอกที่สวยงาม ก็ควรจัดตำแหน่งของโต๊ะทำงานให้สอดคล้องกับหน้าต่าง เพื่อช่วยผ่อน
คลายเวลาทำงาน ทำให้ทำงานได้อย่างสบายตลอดทั้งวัน
4. อันดับสี่
คำนึงถึงแสงสว่าง เนื่องจากแสงสว่างมีบทบาทสำคัญ และช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึก
อยากทำงาน การจัดโต๊ะทำงานติดหน้าต่างทำให้มองเห็นทัศนียภาพที่สวยงาม และทำให้รู้สึก
ผ่อนคลายเวลาทำงาน และยังทำให้ได้รับแสงธรรมชาติได้อีกด้วย
รับ "ออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน"
การออกแบบ Home Office ต้องคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. อันดับแรก
สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นอย่างมากคือ พื้นที่ในการทำงาน และความเป็นส่วนตัว การจัดพื้นที่
ทำงานควรแยกห้องทำงานออกมาให้เป็นกิจจะลักษณะ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับส่วนอื่นภายในบ้าน หรือ
ถ้ามีงบไม่เพียงพอ อาจกั้นด้วยพาทิชัน (Partition) หรือตู้สูงเพื่อแบ่งแยกพื้นที่ออกจากห้องอื่น
เนื่องจากบางครั้งอาจมีการเจรจาต่อรองสัญญากับลูกค้า
2. อันดับสอง
สิ่งต่อไปที่ต้องคำนึงก็คือ โต๊ะทำงาน สามารถเลือกได้ว่าต้องการโต๊ะทำงานที่มีขนาด
ใหญ่ หรือถ้าบ้านมีพื้นที่จำกัด อาจจะใช้โต๊ะทำงานที่เป็นเคาน์เตอร์ติดริมหน้าต่างก็ได้ หากมี
เพื่อนร่วมงาน หรือพนักงานที่มาทำงานกับเรา อาจต้องคำนึงถึงการจัดวางพื้นที่ทำงานให้
เหมาะสม เนื่องจากพื้นที่ทำงานที่ดี และเหมาะสม จะทำให้คนทำงานมีสมาธิ และทำงานได้มี
ประสิทธิภาพสูงกว่าคนที่ทำงานในพื้นที่แออัด
ตู้เก็บของ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึง เนื่องจากสำนักงานอาจมีอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการ
ใช้งานต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพรินเตอร์ ตลอดจนแฟ้มเอกสาร
และเอกสารต่าง ๆ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้พร้อมที่จะทำให้ห้องทำงานยุ่งเหยิงจนไม่อยากทำงานได้
ดังนั้นควรที่จะเลือกตู้ที่มีหน้าบานปิดแบบต่าง ๆ ตลอดจนชั้นปรับระดับได้ นอกจากนี้ลิ้นชักยังมี
หน้าที่สำคัญในการจัดเก็บกระดาษ หรือแฟ้มเอกสารจำพวกแขวน และช่วยในการจัดระเบียบ
เอกสารได้เป็นอย่างดี
3. อันดับสาม
การวางแผนผัง (Planning) ห้องทำงาน หากห้องทำงานมีหน้าต่าง หรือช่องรับแสงที่รับ
วิวภายนอกที่สวยงาม ก็ควรจัดตำแหน่งของโต๊ะทำงานให้สอดคล้องกับหน้าต่าง เพื่อช่วยผ่อน
คลายเวลาทำงาน ทำให้ทำงานได้อย่างสบายตลอดทั้งวัน
4. อันดับสี่
คำนึงถึงแสงสว่าง เนื่องจากแสงสว่างมีบทบาทสำคัญ และช่วยกระตุ้นให้เกิดความรู้สึก
อยากทำงาน การจัดโต๊ะทำงานติดหน้าต่างทำให้มองเห็นทัศนียภาพที่สวยงาม และทำให้รู้สึก
ผ่อนคลายเวลาทำงาน และยังทำให้ได้รับแสงธรรมชาติได้อีกด้วย
รับ "ออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน"
ออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน " องค์ประกอบในสำนักงาน"
"ออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน" องค์ประกอบของสำนักงาน (Success Design-th.Com รับออกแบบ ตกแต่ง ออฟฟิศ สำนักงาน)
4.1 อาคารสถานที่
สถานที่ตั้งขององค์กร ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากในยุคปัจจุบันทุกมุมเมืองเกิดสภาวะ
รถติด เกิดปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในการเลือกสถานที่ตั้งขององค์กรควรที่จะเลือก
สถานที่ที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้พนักงานสามารถมาทำงานได้สะดวก และอาจยังทำให้พนักงาน
มีความสุขในการทำงาน ทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 เครื่องใช้สำนักงาน
เครื่องใช้สำนักงาน เปรียบเสมือนสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อบุคลากร ทำให้ช่วย
ทุ่นแรงในการทำงาน เครื่องใช้สำนักงาน เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร โทรศัพท์ เครื่องพิมพ์ดีด
คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
4.3 ผู้ปฏิบัติงาน
ผู้ปฏิบัติงาน หรือบุคลากร เปรียบเสมือนแรงขับเคลื่อน ที่ช่วยให้องค์กรเกิดแรงผลักดัน
และทำให้เกิดความสำเร็จ ผู้ปฏิบัติงานจึงเป็นได้ตั้งแต่ผู้บริหาร ไปจนกระทั่งพนักงานทั่วไป
ผู้ปฏิบัติงาน หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องภายในสำนักงาน ประกอบด้วย 4 ฝ่ายที่สำคัญ ดังนี้
1. ผู้บริหารระดับสูง (Top Management) ทำหน้าที่วางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว
2. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Management) ทำหน้าที่วางแผนการบริหาร
3. ผู้บริหารระดับล่าง (Lower Management) ทำหน้าที่วางแผนระดับปฏิบัติการ
4. ระดับปฏิบัติการ (Operation Employee) ทำหน้าที่ปฏิบัติการ
5 ลักษณะของสำนักงาน
ปัจจุบันลักษณะการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ดังนั้นลักษณะของ
สำนักงานจึงอยู่เปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน จึงสามารถสรุปลักษณะของสำนักงานได้ดังนี้
5.1 Traditional Office
Traditional Office หรือสำนักงานแบบดั้งเดิม สำนักงานแบบนี้เกิดขึ้นในยุคสมัยแรก ๆ
ดังนั้นการทำงานจึงเป็นลักษณะแบบการทำมือ (Manual) โดยส่วนใหญ่ โดยที่ยังไม่มีเทคโนโลยี
เข้ามาช่วยในการทำงานมากนัก เนื่องจากเทคโนโลยีนั่นเองทำให้สำนักงานแบบนี้ได้หายไปจาก
สังคม
5.2 Virtual Office
Virtual Office หรือสำนักงานเสมือน เป็นสำนักงานที่ไม่เน้นที่ตั้ง เน้นการทำงานผ่าน
ระบบออนไลน์ เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อสำนักงานเป็นอย่างยิ่ง เช่น
เทคโนโลยีการสื่อสาร เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จึงทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรภายใน
องค์กรทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น อีเมล์ โทรศัพท์ เป็นต้น ทำให้บุคลากรสามารถที่จะทำงาน ณ
บริเวณไหนของโลกก็ได้
5.3 Mobile Office
Mobile Office หรือที่เรียกกันว่าสำนักงานเคลื่อนที่ ตามความหมายจริง ๆ แล้วไม่ได้
หมายถึงสำนักงานที่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนก็ได้ แต่เป็นการลดงบประมาณในการ
ดำเนินงาน เช่น บริษัท IBM ที่ประเทศสหรัฐ ต้องการที่จะขยายกลุ่มลูกค้ามายังประเทศไทย ก็
สามารถทำได้โดยเปิดสำนักงานเล็ก ๆ หรือที่เรียกว่า Mobile Office เพื่อไม่ให้เสียค่าใช้จ่าย
ต่าง ๆ มากมาย
โดยที่สำนักงานนั้นสามารถที่จะให้ลูกค้าทำการสั่งซื้อ หรือให้บริการด้านต่าง ๆ
แก่ลูกค้าได้ครบถ้วน เหมือนอยู่ในสำนักงานใหญ่ที่ประเทศสหรัฐ เมื่อลูกค้าได้ทำการสั่งซื้อ
สำนักงานที่ประเทศไทย ก็จะทำการส่งใบสั่งซื้อไปยังสำนักงานใหญ่ ทำให้ลดต้นทุนในการเก็บ
สินค้า ลดต้นทุนในการดูแลสินค้า เป็นต้น
อีกรูปแบบหนึ่งของการจัดสำนักงานแบบ Mobile Office โดย Mr. Kunio Ushioda รอง
ผู้อำนวยการสำนักงาน Corporate Marketing Headquarters (CHM) บริษัท NTT DoCoMo ซึ่ง
เป็นบริษัทโทรคมนาคมที่อยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศญี่ปุ่น เริ่มแนวคิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546
โดยประยุกต์ใช้แนวความคิดทางด้าน การจัดการฐานความรู้ (Knowledge Management: KM)
ที่ทราบกันในชื่อของ SECI Model จาก Prof. Nonaka และ Dr. Takeuchi จาก Hitotsubashi University โดยหลักการที่อาศัย KM เป็นแนวคิดจะมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างจากสำนักงานทั่วไปใน
ปัจจุบัน ที่จัดโต๊ะทำงานให้พนักงานนั่งครอบครองเป็นเจ้าของคนละชุด อีกทั้งยังแบ่งพื้นที่ของ
แต่ละคนโดยใช้พาทิชันกั้น หรืออาจจัดห้องทำงานที่มีประตูปิดอย่างมิดชิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่พบ
เห็นในรูปแบบของ Mobile Office และรูปแบบของสำนักงานตามแนวคิดใหม่นี้จะมีรูปแบบที่
สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ห้องทำงานเปิดโล่ง ไม่มีผนังกั้นให้เป็นห้องเล็ก ๆ ทำให้ผู้บริหารสำนักงานสามารถ
มองเห็นได้ทุกมุมในสำนักงาน
2. โต๊ะทำงานของพนักงานเป็นโต๊ะขนาดใหญ่ที่ทำงานได้ 4 ที่นั่ง เพื่อให้พนักงานทำงาน
ร่วมกัน พนักงานสามารถเปลี่ยนที่นั่งได้ตลอด โดยเลือกนั่งกับใครก็ได้ขึ้นอยู่กับภาระ
งานที่จะต้องไปทำงานประสานกับเพื่อนรวมงานคนใดในช่วงเวลานั้น
3. พนักงานทุกคนจะมีคอมพิวเตอร์ Notebook และโทรศัพท์มือถือ โดยใช้เป็นเครื่องมือ
ในการปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงาน บนโต๊ะจะมีเอกสารเฉพาะเท่าที่จำเป็นต้องใช้ใน
ขณะนั้น โดยจัดเก็บเอกสารให้อยู่ในรูปของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Document)
โดยเก็บไว้ที่เครื่องแม่ข่าย (Server) พนักงานสามารถเรียกใช้ได้ตลอดเวลา ทำให้
สำนักงานลดการใช้กระดาษ (Paperless) ให้มากที่สุด
โดยบริษัทได้จัดบ่างส่วนของสำนักงานในแต่ละชั้นของตึกทำงาน ตามภาระการใช้งาน
ออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. Base Zone
เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของห้องทำงานที่พนักงานจะหมุนเวียนกันมานั่งทำงานเป็นกลุ่มตาม
โต๊ะทำงานที่จัดไว้โต๊ะละ 4 คน งานส่วนใหญ่เป็นการประสานงานปรึกษางาน รวมถึงการวาง
แผนการปฏิบัติงานร่วมกัน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะก่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนทักษะ
ประสบการณ์ซึ่งกันและกันระหว่างพนักงาน
2. Creative Zone
เป็นส่วนของสำนักงานที่ส่วนใหญ่จัดให้อยู่ริมหน้าต่าง มีจอภาพขนาดใหญ่ไว้สำหรับ
แสดง หรือนำเสนอข้อมูล พื้นที่ในส่วนนี้จัดไว้สำหรับการประชุมอย่างเป็นทางการของ
คณะทำงานกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อระดมสมองหาแนวคิดใหม่ ๆ ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ
เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านทั้งระบบมีสาย และไร้สาย เพื่ออำนวยความสะดวกในการ
สืบค้นข้อมูล โดยห้องประชุมขนาดเล็กในลักษณะนี้ สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของห้องให้
เหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็วตามความต้องการ
3. Concentration Zone
เป็นส่วนของสำนักงานที่จัดไว้สำหรับการทำงานที่ต้องการสมาธิในการทำงานเป็นอย่าง
มาก เช่นการวางระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรืองานร่างแผนงานโครงการต่าง ๆ สำนักงาน
ในส่วนนี้จะถูกจัดให้เป็นสัดส่วน และมีโต๊ะทำงานเฉพาะบุคคล
4. Refresh Zone
เป็นส่วนที่จัดไว้สำหรับเป็นที่พักผ่อนของพนักงาน อาจประกอบไปด้วยตู้เครื่องดื่มแบบ
หยอดเหรียญ หรือที่อ่านหนังสือพิมพ์ เพื่อให้พนักงานทุกแผนกสามารถใช้สำหรับพบปะพูดคุย
กัน ทำให้ได้ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ ๆ อย่างไม่เป็นทางการ
5.4 Home Office
Home Office หรือ การประยุกต์บ้านให้เป็นที่ทำงาน ซึ่งการประยุกต์บ้านให้เป็นที่
สำนักงานนั้นช่วยลดต้นทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันนี้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าเช่า ค่า
เดินทาง เป็นต้น สูงขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้ต้องลดค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ไม่จำเป็นบางส่วนออกไป
Home Office จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
การทำงานภายในบ้านทำให้มีอิสระในการทำงานเป็นอย่างสูง ทำให้เป็นเจ้านายของ
ตนเอง ตลอดจนได้แต่งตัวตามสบายทุกวัน ไม่ต้องเครียดในการไปทำงานให้ทันเวลาในช่วงเช้า
ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นธุรกิจสำหรับบุคคลที่มีทุนน้อย
รับ "ออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน"
4.1 อาคารสถานที่
สถานที่ตั้งขององค์กร ถือเป็นสิ่งที่สำคัญ เนื่องจากในยุคปัจจุบันทุกมุมเมืองเกิดสภาวะ
รถติด เกิดปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อม ดังนั้นในการเลือกสถานที่ตั้งขององค์กรควรที่จะเลือก
สถานที่ที่เหมาะสม ซึ่งจะช่วยให้พนักงานสามารถมาทำงานได้สะดวก และอาจยังทำให้พนักงาน
มีความสุขในการทำงาน ทำให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 เครื่องใช้สำนักงาน
เครื่องใช้สำนักงาน เปรียบเสมือนสิ่งที่ช่วยอำนวยความสะดวกต่อบุคลากร ทำให้ช่วย
ทุ่นแรงในการทำงาน เครื่องใช้สำนักงาน เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร โทรศัพท์ เครื่องพิมพ์ดีด
คอมพิวเตอร์ เป็นต้น
4.3 ผู้ปฏิบัติงาน
ผู้ปฏิบัติงาน หรือบุคลากร เปรียบเสมือนแรงขับเคลื่อน ที่ช่วยให้องค์กรเกิดแรงผลักดัน
และทำให้เกิดความสำเร็จ ผู้ปฏิบัติงานจึงเป็นได้ตั้งแต่ผู้บริหาร ไปจนกระทั่งพนักงานทั่วไป
ผู้ปฏิบัติงาน หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้องภายในสำนักงาน ประกอบด้วย 4 ฝ่ายที่สำคัญ ดังนี้
1. ผู้บริหารระดับสูง (Top Management) ทำหน้าที่วางแผนยุทธศาสตร์ระยะยาว
2. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle Management) ทำหน้าที่วางแผนการบริหาร
3. ผู้บริหารระดับล่าง (Lower Management) ทำหน้าที่วางแผนระดับปฏิบัติการ
4. ระดับปฏิบัติการ (Operation Employee) ทำหน้าที่ปฏิบัติการ
5 ลักษณะของสำนักงาน
ปัจจุบันลักษณะการทำงานมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมาย ดังนั้นลักษณะของ
สำนักงานจึงอยู่เปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน จึงสามารถสรุปลักษณะของสำนักงานได้ดังนี้
5.1 Traditional Office
Traditional Office หรือสำนักงานแบบดั้งเดิม สำนักงานแบบนี้เกิดขึ้นในยุคสมัยแรก ๆ
ดังนั้นการทำงานจึงเป็นลักษณะแบบการทำมือ (Manual) โดยส่วนใหญ่ โดยที่ยังไม่มีเทคโนโลยี
เข้ามาช่วยในการทำงานมากนัก เนื่องจากเทคโนโลยีนั่นเองทำให้สำนักงานแบบนี้ได้หายไปจาก
สังคม
5.2 Virtual Office
Virtual Office หรือสำนักงานเสมือน เป็นสำนักงานที่ไม่เน้นที่ตั้ง เน้นการทำงานผ่าน
ระบบออนไลน์ เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทต่อสำนักงานเป็นอย่างยิ่ง เช่น
เทคโนโลยีการสื่อสาร เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ จึงทำให้การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรภายใน
องค์กรทำได้ในหลายรูปแบบ เช่น อีเมล์ โทรศัพท์ เป็นต้น ทำให้บุคลากรสามารถที่จะทำงาน ณ
บริเวณไหนของโลกก็ได้
5.3 Mobile Office
Mobile Office หรือที่เรียกกันว่าสำนักงานเคลื่อนที่ ตามความหมายจริง ๆ แล้วไม่ได้
หมายถึงสำนักงานที่สามารถเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนก็ได้ แต่เป็นการลดงบประมาณในการ
ดำเนินงาน เช่น บริษัท IBM ที่ประเทศสหรัฐ ต้องการที่จะขยายกลุ่มลูกค้ามายังประเทศไทย ก็
สามารถทำได้โดยเปิดสำนักงานเล็ก ๆ หรือที่เรียกว่า Mobile Office เพื่อไม่ให้เสียค่าใช้จ่าย
ต่าง ๆ มากมาย
โดยที่สำนักงานนั้นสามารถที่จะให้ลูกค้าทำการสั่งซื้อ หรือให้บริการด้านต่าง ๆ
แก่ลูกค้าได้ครบถ้วน เหมือนอยู่ในสำนักงานใหญ่ที่ประเทศสหรัฐ เมื่อลูกค้าได้ทำการสั่งซื้อ
สำนักงานที่ประเทศไทย ก็จะทำการส่งใบสั่งซื้อไปยังสำนักงานใหญ่ ทำให้ลดต้นทุนในการเก็บ
สินค้า ลดต้นทุนในการดูแลสินค้า เป็นต้น
อีกรูปแบบหนึ่งของการจัดสำนักงานแบบ Mobile Office โดย Mr. Kunio Ushioda รอง
ผู้อำนวยการสำนักงาน Corporate Marketing Headquarters (CHM) บริษัท NTT DoCoMo ซึ่ง
เป็นบริษัทโทรคมนาคมที่อยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศญี่ปุ่น เริ่มแนวคิดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546
โดยประยุกต์ใช้แนวความคิดทางด้าน การจัดการฐานความรู้ (Knowledge Management: KM)
ที่ทราบกันในชื่อของ SECI Model จาก Prof. Nonaka และ Dr. Takeuchi จาก Hitotsubashi University โดยหลักการที่อาศัย KM เป็นแนวคิดจะมีรูปลักษณ์ที่แตกต่างจากสำนักงานทั่วไปใน
ปัจจุบัน ที่จัดโต๊ะทำงานให้พนักงานนั่งครอบครองเป็นเจ้าของคนละชุด อีกทั้งยังแบ่งพื้นที่ของ
แต่ละคนโดยใช้พาทิชันกั้น หรืออาจจัดห้องทำงานที่มีประตูปิดอย่างมิดชิด ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่พบ
เห็นในรูปแบบของ Mobile Office และรูปแบบของสำนักงานตามแนวคิดใหม่นี้จะมีรูปแบบที่
สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ห้องทำงานเปิดโล่ง ไม่มีผนังกั้นให้เป็นห้องเล็ก ๆ ทำให้ผู้บริหารสำนักงานสามารถ
มองเห็นได้ทุกมุมในสำนักงาน
2. โต๊ะทำงานของพนักงานเป็นโต๊ะขนาดใหญ่ที่ทำงานได้ 4 ที่นั่ง เพื่อให้พนักงานทำงาน
ร่วมกัน พนักงานสามารถเปลี่ยนที่นั่งได้ตลอด โดยเลือกนั่งกับใครก็ได้ขึ้นอยู่กับภาระ
งานที่จะต้องไปทำงานประสานกับเพื่อนรวมงานคนใดในช่วงเวลานั้น
3. พนักงานทุกคนจะมีคอมพิวเตอร์ Notebook และโทรศัพท์มือถือ โดยใช้เป็นเครื่องมือ
ในการปฏิบัติงานที่โต๊ะทำงาน บนโต๊ะจะมีเอกสารเฉพาะเท่าที่จำเป็นต้องใช้ใน
ขณะนั้น โดยจัดเก็บเอกสารให้อยู่ในรูปของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-Document)
โดยเก็บไว้ที่เครื่องแม่ข่าย (Server) พนักงานสามารถเรียกใช้ได้ตลอดเวลา ทำให้
สำนักงานลดการใช้กระดาษ (Paperless) ให้มากที่สุด
โดยบริษัทได้จัดบ่างส่วนของสำนักงานในแต่ละชั้นของตึกทำงาน ตามภาระการใช้งาน
ออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้
1. Base Zone
เป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของห้องทำงานที่พนักงานจะหมุนเวียนกันมานั่งทำงานเป็นกลุ่มตาม
โต๊ะทำงานที่จัดไว้โต๊ะละ 4 คน งานส่วนใหญ่เป็นการประสานงานปรึกษางาน รวมถึงการวาง
แผนการปฏิบัติงานร่วมกัน ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวจะก่อให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนทักษะ
ประสบการณ์ซึ่งกันและกันระหว่างพนักงาน
2. Creative Zone
เป็นส่วนของสำนักงานที่ส่วนใหญ่จัดให้อยู่ริมหน้าต่าง มีจอภาพขนาดใหญ่ไว้สำหรับ
แสดง หรือนำเสนอข้อมูล พื้นที่ในส่วนนี้จัดไว้สำหรับการประชุมอย่างเป็นทางการของ
คณะทำงานกลุ่มเล็ก ๆ เพื่อระดมสมองหาแนวคิดใหม่ ๆ ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถ
เชื่อมต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านทั้งระบบมีสาย และไร้สาย เพื่ออำนวยความสะดวกในการ
สืบค้นข้อมูล โดยห้องประชุมขนาดเล็กในลักษณะนี้ สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบของห้องให้
เหมาะสมกับการใช้งานได้อย่างสะดวก รวดเร็วตามความต้องการ
3. Concentration Zone
เป็นส่วนของสำนักงานที่จัดไว้สำหรับการทำงานที่ต้องการสมาธิในการทำงานเป็นอย่าง
มาก เช่นการวางระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรืองานร่างแผนงานโครงการต่าง ๆ สำนักงาน
ในส่วนนี้จะถูกจัดให้เป็นสัดส่วน และมีโต๊ะทำงานเฉพาะบุคคล
4. Refresh Zone
เป็นส่วนที่จัดไว้สำหรับเป็นที่พักผ่อนของพนักงาน อาจประกอบไปด้วยตู้เครื่องดื่มแบบ
หยอดเหรียญ หรือที่อ่านหนังสือพิมพ์ เพื่อให้พนักงานทุกแผนกสามารถใช้สำหรับพบปะพูดคุย
กัน ทำให้ได้ทำความรู้จักเพื่อนใหม่ ๆ อย่างไม่เป็นทางการ
5.4 Home Office
Home Office หรือ การประยุกต์บ้านให้เป็นที่ทำงาน ซึ่งการประยุกต์บ้านให้เป็นที่
สำนักงานนั้นช่วยลดต้นทุนเป็นอย่างมาก เนื่องจากปัจจุบันนี้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าเช่า ค่า
เดินทาง เป็นต้น สูงขึ้นเป็นอย่างมาก ทำให้ต้องลดค่าใช้จ่ายบางส่วนที่ไม่จำเป็นบางส่วนออกไป
Home Office จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
การทำงานภายในบ้านทำให้มีอิสระในการทำงานเป็นอย่างสูง ทำให้เป็นเจ้านายของ
ตนเอง ตลอดจนได้แต่งตัวตามสบายทุกวัน ไม่ต้องเครียดในการไปทำงานให้ทันเวลาในช่วงเช้า
ซึ่งถือว่าเป็นการเริ่มต้นธุรกิจสำหรับบุคคลที่มีทุนน้อย
รับ "ออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน"
ออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน "แนวคิด"
"ออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน" แนวคิด (Success Design-th.Com รับออกแบบ ตกแต่ง ออฟฟิศ สำนักงาน)
สำนักงานเปรียบเสมือนสถานที่ในการทำงาน บริหารงาน จัดการเกี่ยวกับข้อมูลและ
เอกสาร สำนักงานจึงประกอบด้วยบุคลากร อุปกรณ์ และแผนงาน เพื่อให้การทำงานบรรลุ
วัตถุประสงค์เดียวกัน นอกจากนี้สำนักงานยังเป็นหัวใจในการทำงานของการบริหารงานทั่ว ๆ
ไป เช่น งานบัญชี งานการเงิน งานสารบรรณ เป็นต้น
หน้าที่และบทบาทของสำนักงาน
หน้าที่ของและบทบาทของสำนักงานในแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันตามแต่ประเภท
ของงาน แต่ส่วนใหญ่แล้วหน่วยงานภายในองค์การดำเนินการเกี่ยวกับงานสารสนเทศของ
องค์กร เกี่ยวข้องกับงานการวางแผน การควบคุมดำเนินการ ให้บริการเกี่ยวกับสารสนเทศทุก
ชนิดขององค์กร และบริการสิ่งอำนวยความสำดวกในการปฏิบัติงานให้ส่วนงานทั้งหมดของ
องค์กร เพื่อให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้แบ่งบทบาทของสำนักงานได้เป็น 2 ระดับ
คือระดับพื้นฐาน และระดับสูง
2.1 บทบาทระดับพื้นฐาน (Primary Functions) ประกอบด้วย 7 หน้าที่ ดังนี้
1. งานที่เกี่ยวกับเอกสาร (Paperwork)
2. งานติดต่อสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ (Communication and Public
Relation)
3. งานจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกทางภายภาพในสำนักงาน (Facilities)
4. งานวิเคราะห์และจัดระบบงาน (System Analysis and Operation
Management)
5. งานควบคุมระบบงานในสำนักงาน (Control)
6. งานบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
7. งานการเงินและบัญชี (Finance Management)
2.2 บทบาทระดับสูง (Secondary Functions)
บทบาทระดับสูง คือการร่วมมือกันระหว่างสำนักงานกับแผนกต่าง ๆ ในองค์กร ในการ
ให้บริการเป็นสำนักงานย่อยในแผนกต่าง ๆ เพื่อให้การบริการที่สะดวก และรวดเร็วต่อแผนก
ต่าง ๆ และยังรวมถึงการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายบริหารในการรวบรวม จัดเก็บ
วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ การวางแผนและจัดทำนโยบายต่าง ๆ ของ
องค์กรเพื่อรองรับการขยายตัวของสำนักงานในอนาคต
3 ความสำคัญของสำนักงาน
1. เป็นศูนย์กลางรับส่งข้อมูล
2. เป็นศูนย์กลางความจำ
3. เป็นศูนย์กลางการบริการ
4. เป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจ
การบริหารงานสำนักงานจึงต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และยุทธวิธี
(Tactic) ที่ชาญฉลาด ดังนั้นนักบริหาร ควรที่จะมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
รับ "ออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน"
สำนักงานเปรียบเสมือนสถานที่ในการทำงาน บริหารงาน จัดการเกี่ยวกับข้อมูลและ
เอกสาร สำนักงานจึงประกอบด้วยบุคลากร อุปกรณ์ และแผนงาน เพื่อให้การทำงานบรรลุ
วัตถุประสงค์เดียวกัน นอกจากนี้สำนักงานยังเป็นหัวใจในการทำงานของการบริหารงานทั่ว ๆ
ไป เช่น งานบัญชี งานการเงิน งานสารบรรณ เป็นต้น
หน้าที่และบทบาทของสำนักงาน
หน้าที่ของและบทบาทของสำนักงานในแต่ละแห่งมีความแตกต่างกันตามแต่ประเภท
ของงาน แต่ส่วนใหญ่แล้วหน่วยงานภายในองค์การดำเนินการเกี่ยวกับงานสารสนเทศของ
องค์กร เกี่ยวข้องกับงานการวางแผน การควบคุมดำเนินการ ให้บริการเกี่ยวกับสารสนเทศทุก
ชนิดขององค์กร และบริการสิ่งอำนวยความสำดวกในการปฏิบัติงานให้ส่วนงานทั้งหมดของ
องค์กร เพื่อให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้แบ่งบทบาทของสำนักงานได้เป็น 2 ระดับ
คือระดับพื้นฐาน และระดับสูง
2.1 บทบาทระดับพื้นฐาน (Primary Functions) ประกอบด้วย 7 หน้าที่ ดังนี้
1. งานที่เกี่ยวกับเอกสาร (Paperwork)
2. งานติดต่อสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ (Communication and Public
Relation)
3. งานจัดให้มีสิ่งอำนวยความสะดวกทางภายภาพในสำนักงาน (Facilities)
4. งานวิเคราะห์และจัดระบบงาน (System Analysis and Operation
Management)
5. งานควบคุมระบบงานในสำนักงาน (Control)
6. งานบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
7. งานการเงินและบัญชี (Finance Management)
2.2 บทบาทระดับสูง (Secondary Functions)
บทบาทระดับสูง คือการร่วมมือกันระหว่างสำนักงานกับแผนกต่าง ๆ ในองค์กร ในการ
ให้บริการเป็นสำนักงานย่อยในแผนกต่าง ๆ เพื่อให้การบริการที่สะดวก และรวดเร็วต่อแผนก
ต่าง ๆ และยังรวมถึงการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายบริหารในการรวบรวม จัดเก็บ
วิเคราะห์ และนำเสนอข้อมูลเพื่อใช้ในการตัดสินใจ การวางแผนและจัดทำนโยบายต่าง ๆ ของ
องค์กรเพื่อรองรับการขยายตัวของสำนักงานในอนาคต
3 ความสำคัญของสำนักงาน
1. เป็นศูนย์กลางรับส่งข้อมูล
2. เป็นศูนย์กลางความจำ
3. เป็นศูนย์กลางการบริการ
4. เป็นศูนย์กลางในการตัดสินใจ
การบริหารงานสำนักงานจึงต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ และยุทธวิธี
(Tactic) ที่ชาญฉลาด ดังนั้นนักบริหาร ควรที่จะมีการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา
รับ "ออกแบบออฟฟิศตกแต่งสำนักงาน"
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)